วิธีคำนวนค่าใช้จ่ายในการติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วยตัวเอง

วิธีคำนวนค่าใช้จ่ายในการติดตั้งกล้องวงจรปิดด้วยตัวเอง

มีลูกค้ามากมายหลายท่านปวดหัวกับการคำนวนเรื่องค่าใช้จ่ายในการติดตั้งกล้องวงจรปิด เพราะไม่ทราบว่าต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ไหนจะค่ากล้อง, ค่าเครื่องบันทึก (DVR & NVR), ค่าสายสัญญาณภาพ (RG6, UTP), ค่าสายไฟเลี้ยงกล้อง (VFF, VCT, THW), ค่าบริการติดตั้ง, ค่าอุปกรณ์อื่นจิปาถะ, ค่าบริการติดตั้งกล้องวงจรปิด....อย่าเพิ่งกังวลไปครับ บทความนี้เราจะมาว่าถึงเรื่องราวเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดที่ต้องใช้ในการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) แบบเจาะลึกกันเลยดีกว่า รวมถึงราคาที่ลูกค้าส่วนมาก (เกือบทุกท่าน) กังวลว่าจะแพงไปหรือเปล่า จะเกินงบที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าพร้อมแล้วเตรียมเครื่องคิดเลขของท่านไว้ได้เลยครับ

 

1. เครื่องบันทึกภาพ (DVR & NVR)

เริ่มต้นจากเครื่องบันทึกภาพ (DVR & NVR) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบันทึกภาพจากกล้องลงสู่ Harddisk สำหรับเวลาที่ท่านต้องการดูภาพย้อนหลัง และยังเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลภาพสำหรับการดูกล้องผ่าน Internet ด้วยอีกเช่นกัน มีตั้งแต่ 4 Channels (1 Channel รองรับกล้องได้ 1 ตัว), 8 Channels, 16 Channels, 32 Channels, 64 Channels แล้วแต่ความต้องการของท่านในการเลือกว่าต้องการใช้กล้องทั้งหมดกี่จุด ต้องการฟังชันเสริมต่างๆ เพิ่มเติมหรือไม่ เช่นต้องการให้เครื่องบันทึกส่ง Push Video หรือไม่ ต้องการให้มีฟังชั่นดูย้อนหลังผ่าน Smart Phone ด้วยหรือเปล่า ต้องการบันทึกแบบคมชัดหรือไม่ ระบบ Analog Camara หรือระบบความคมชัดสูง Analog HD Camera หรือชัดเจนสุดๆในระบบ Digital 100% ไปเลยในระบบ Network Camera ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ถ้าท่านมีข้อสงสัยแนะนำให้สอบถามตัวแทนจำหน่ายเพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุดถึงตัวเครื่องบันทึกที่ตอบโจทย์การใช้งานของท่านอย่างลงตัวที่สุด ทั้งฟังชั่นต่างๆ และราคาที่เหมาะสมกับงบประมาณติดตั้งกล้องวงจรปิดของท่าน

- ท่านสามารถเลือก DVR หรือ NVR ตามรุ่น, จำนวนกล้องที่รองรับ, ฟังชั่นต่างๆ และราคาที่ท่านตั้งงบไว้ตามต้องการเลยครับ เมื่อได้รุ่นและราคาโดนใจท่านแล้วให้โน๊ตไว้และดูตามหัวข้อต่อไปได้เลยครับ

 

2. กล้องวงจรปิด (CCTV Camera)

ต่อมาก็คือพระเอกของเรา นั่นก็คือตัวกล้องสำหรับบันทึกภาพนั่นเองครับ มีมากมายหลายชนิด ทั้งแบบกลางวัน (Day), กลางวันและกลางคืน (Day/Night) ความชัดก็มีให้เลือกมากมายเช่นกัน ตั่งแต่ระบบ Analog HD Camera ที่ให้ความชัดเจนในระดับ HD720p, Full HD1080p, 2Megapixel หรือในระบบ Digital ใน Network Camera ที่มีความละเอียดให้ท่านเลือกใช้ตั้งแต่ 1.3 Megapixel ไปจนสูงสุดถึง 30 Megapixel ต่อมาก็พังชั่น Infrared (IR) มีให้เลือกระยะการเห็นเวลากลางคืนอีกเช่นกัน ตั้งแต่ 10, 15, 20, 25, 30, 40, 50, 80 เมตร (ตามรุ่นของกล้องอีกเช่นกัน) แนะนำว่าให้เลือกตามการใช้งานครับ ไม่จำเป็นต้องติดกล้อง 16 ตัวแล้วต้องเป็นกล้องรุ่นเดียวกันทั้งหมด (จะได้ประหยัดงบประมาณครับ) เราจะได้กล้องที่เหมาะและจำเป็นต่อการใช้งานของเรามากที่สุด ที่สำคัญสบายกระเป๋าด้วยครับ

ท่านสามารถเลือกกล้องตามรุ่น, ฟังชั่นต่างๆ และราคาที่ท่านตั้งงบไว้ตามต้องการเลยครับจะกี่ตัวก็แล้วแต่รวมราคาได้เลยครับแค่นี้ก็จะได้ค่าอุปกรณ์หลักๆ ของเราแล้วโน๊ตรวมกับรายการข้างบนแล้วเรามาต่อกันเลยครับ

 

3. สายนำสัญญาณกล้องวงจรปิด

สามารถแบ่งได้เป็นสองระบบได้ดังนี้

3.1 สายนำสัญญาณระบบ Analog Camera (Analog HD Camera)

สายนำสัญญาณเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการติดตั้งกล้องวงจรปิดเลยทีเดียวเพราะทำหน้าที่นำสัญญาณภาพจากกล้องมายังเครื่องบันทึก มีมากมายหลายคุณภาพและราคา (บางยี่ห้อตกเมตรละ 4-5 บาทเท่านั้นเอง) ถ้าถามว่าแล้วมันต่างกันตรงไหนระหว่างสายแพงกับสายถูก แน่นอนครับหากใช้สายที่มีคุณภาพ จะทำให้ภาพคมชัดและไม่มีสัญญาณรบกวน ตัวนำสัญญาณที่เป็นแกนกลางที่อยู่ด้านในสุดที่เป็นทองแดงเคลือบแข็งด้วยน้ำยานั้น ถ้าเป็นสายที่ราคาถูกเขาจะไม่ใช่สายทองแดงแท้เคลือบ หรือถ้ามีก็มีส่วนผสมของทองแดงน้อยมาก (ไม่ถึง 5%)  และเมื่อนำสายสัญญาณที่มีราคาถูกมาติดตั้งในระบบนั้นก็จะมีอายุการใช้งานสั้น แต่ถ้าเราใช้สายดีมีมาตรฐานก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานออกไปได้อีกนานและภาพที่ถ่ายทอดออกมาก็จะชัดเจนขึ้นไปด้วยครับ

เมื่อท่านเลือกชนิดของสายได้แล้วต่อมาก็คือการคำนวนระยะทางของสายครับ ง่ายๆครับ ให้ท่านวางแผนว่าจะวางเครื่องบันทึก (DVR) ไว้ยังตำแหน่งไหน..ห้องใด..? เสร็จแล้วให้วัดระยะทางจากเครื่องบันทึกไปยังกล้องจุดต่างๆ ที่เราวางแผนไว้ (เวลาวัดให้ท่านวัดตามตำแหน่งที่สายจะติดจริงนะครับเช่นสายเรียบกำแพง ผ่านเสา ผ่านคาน ห้ามวัดจากเครื่องบันทึกไปยังกล้องตรงๆ นะครับจะได้ความยาวของสายที่ผิดครับ) กล้อง 1 ตัว = ความยาวของสาย 1 เส้น ถ้าใช้กล้อง 4 ตัว ก็วัดทั้งหมด 4 เส้น แค่นี้ก็จะได้ระยะสายที่จะใช้ติดตั้งจริงแล้วครับ

สายที่ทางเราแนะนำให้ท่านใช้ในการติดตั้งระบบ Analog เป็นสาย CCTV Coaxial Cable (RG6) Shield 95% โดยเฉพาะครับ ตัว Shield 95% สามารถป้องกันคลื่นวิทยุไม่ให้มารบกวนสัญญาณภาพได้ เจ้าคลื่นความถี่นี้แหละที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือภาพจะมีอาการลายๆ ภาพเป็นเส้นๆ ภาพไม่คมชัดไม่ใส สายดีนั้นจะป้องกันความถี่คลื่นวิทยุนั้นลงกราวด์ไป ก็จะไม่เกิดการกวนของสัญญาณได้ ที่สำคัญอีกเรื่องคือขอให้ท่านเลือกใช้สาย RG6 ชนิดแกนด้านในเป็นทองแดงในเปอร์เซ็นต์ที่สูงหน่อยครับ ราคาอาจจะสูงกว่าสายธรรมดานิดหน่อย แต่คุณภาพที่ได้จากสายสัญาณที่ดีรับรองว่าถ่ายทอดสัญญาณภาพได้สมบูรณ์ 100% เต็มครับ

 

3.2 สายนำสัญญาณระบบ Network Camera

ระบบนี้ท่านสามารถออกแบบระบบได้หลากหลาย สายสัญญาณก็สามารถเลือกใช้ได้ตามระบบที่ท่านต้องการเช่นกันครับ อย่างเช่นกรณีที่ไซต์งานของท่านขนาดไม่ใหญ่มาก เช่นอาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว ขนาดไม่ใหญ่มาก ระยะสายจากเครื่องบันทึกไปยังกล้องไม่ไกลมาก กล่าวคือระยะสายไม่เกิน 100 เมตร/กล้อง ท่านสามารถเลือกใช้สาย LAN Cable ได้ครับ (สายชนิดเดียวที่ใช้กับ Internet ที่บ้านหรือที่ทำงานนั่นเองครับ)

หากเป็นกรณีที่ไซต์งานของท่านเป็นระบบขนาดใหญ่ ที่มีระยะทางการเดินสายสัญญาณที่ไกลมากๆ ก็สามารถใช้สายสัญญาณใยแก้วนำแสง หรือสาย Fiber Optic นั่นเองครับ เป็นสายสัญญาณที่ทำมาจากแก้ว และส่งสัญญาณด้วยแสง ซึ่งสาย Fiber Optic นิยมนำมาเป็นสายเมนหลักของระบบต่างๆ ทั้งระบบ Network ในอาคาร, ระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง, ระบบโครงข่ายโทรศัพท์ แม้แต่การเชื่อมต่อกับข้ามประเทศหรือข้ามทวีปก็ใช้สาย Fiber Optic ครับ โดยปกติแล้วสาย LAN จะสามารถใช้งานได้ไม่เกิน 100 เมตร แต่สำหรับสาย Fiber Optic ที่มีการลดทอนสัญญาณต่ำมาก สามารถใช้งานได้ระดับ 10-100 km ได้สบายครับ

หลังจากที่ท่านได้คำนวนระยะของสายที่จะใช้เรียบร้อยแล้วก็จะสามารถเลือกชนิดของสายได้เลยครับ ว่าต้องการใช้ LAN Cable หรือจะใช้สาย Fiber Optic ส่วนระยะสายที่ต้องใช้นั่นท่านสามารถใช้สูตรการคำนวนในข้อ 3.1 นำไปคำนวนหาระยะสายที่ต้องการใช้ได้เลยครับ

 

4. สายไฟ (VFF, VCT, THW)

เป็นสายสำหรับจ่ายไฟไปเลี้ยงกล้องวงจรปิดของเรานั่นเองครับ สามารถใช้สายได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสาย VFF, VCT, THW ท่านสามารถเลือกใช้สายให้เหมาะสมกับหน้างานหรืองบประมาณของท่าน แต่จะใช้งานแตกต่างกับสายสัญญาณ กล่าวคือการเดินสายไฟแบบนี้สามารถพ่วงกันได้ทำให้เราประหยัดการใช้จำนวนสายได้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่นเราใช้สาย RG6 ทั้งหมด 100 เมตรแต่เราอาจจะต้องใช้สายไฟ เพียงแค่ 60 เมตรเท่านั้นเพราะสาย RG6 จำเป็นต้องเดินจากกล้องไปสู่เครื่องบันทึกแยกเส้นต่อเส้น แต่สายไฟเราสามารถเดินพ่วงสายไฟไปเส้นเดียวแล้วไปแยกตรงกล้องแต่ละตัวได้ ทำให้ประหยัดค่าสายไฟได้มากเลยล่ะครับ ใช้เท่าไรท่านก็สามารถคำนวนได้แล้วละครับว่าต้องใช้งบประมาณเกี่ยวกับสายไฟเท่าไร

ก่อนอื่นเลยขอให้ท่านได้ออกแบบระบบไฟที่จะใช้ในงานของท่านก่อนนะครับ ว่าต้องการใช้งานแบบใด จ่ายไฟไปให้กล้องแบบไหน? จะจ่ายไฟเป็น AC 220V หรือ DC 12V ซึ่งจะมีผลต่อชนิดของสายที่จะใช้งาน ยกตัวอย่างเช่นหากท่านจ่ายไฟไปยังกล้องโดยใช้ Switching Power Supply ท่านก็จะสามารถใช้สาย VFF 2x1.0 จ่ายไฟไปยังกล้องได้ (ระยะสายไม่ไกลมาก) หากระยะสายไกลมากๆ ท่านอาจจะต้องวางแผนโดยการจ่ายไฟ AC 220V ไปยังจุดใกล้กล้องโดยใช้สาย THW ก่อน แล้วจึงวาง Switching Power Supply จากนั้นจึงใช้สาย VFF 2x1.0 จ่ายไฟไปยังกล้องอีกทีครับ

 

5. หัว Connect BNC + F-Type (Jack BNC)

หัวสำหรับต่อสายเข้ากับเครื่องบันทึก (DVR) กับกล้องวงจรปิด (Camera CCTV) นับจำนวนได้เลยครับว่าใช้ทั้งหมดกี่สาย (จำนวนกล้อง) ใช้ทั้งหมดเส้นละ 2 ชุด ยกตัวอย่างเช่น ชุดกล้องวงจรปิด 8 ตัว เท่ากับเราต้องใช้หัวทั้งหมด 16 หัวครับ

- สำหรับท่านที่ต้องการคำนวนราคา หัวนี้ทั้งชุดหัวท้าย (BNC+F-Type) ชุดละ 15-60 บาทครับ แล้วแต่ชนิด และเกรดของวัสดุครับ ใช้เท่าไร คูณเอาได้เลยครับตามนั้น

 

6. อุปกรณ์แปลงไฟ (Adapter Switching Powersupply)

กล้องวงจรปิดแต่ละตัวกินกระแสไฟไม่เท่ากัน (แล้วแต่ยี่ห้อ, รุ่น) โดยส่วนใหญ่ทั่วไปจะกินไฟ 12V กระแสไฟบ้านเราใช้ถึง 220V จึงทำให้ต้องใช้อุปกรณ์แปลงกระแสไฟ (Adapter) ซึ่งปกติช่างติดตั้งทั่วไปจะใช้ Adapter แบบเสียบทั่วไป (เหมือนที่ชาร์จมือถือนั่นแหละครับ) ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากอาการกล้องดับ ไม่มีภาพ กว่า 90% มาจากอุปกรณ์นี้แหละครับ เพราะกล้องวงจรปิดเราเปิดตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีหยุดพัก ไอ้เจ้าอุปกรณ์ที่ว่านี่ที่ส่วนใหญ่ผลิตจากโรงงานจีนทั่วไป มันก็เอาไม่อยู่สิครับ เดือนร้อนลูกค้าที่ต้องตามช่างติดตั้งวุ่นวายไปหมด เราจึงแนะนำให้ลูกค้าเลือกใช้ Switching Power Supply ครับ เรามารู้จักไอ้เจ้าอุปกรณ์นี้กันดีกว่า ว่ามันดีกว่าอย่างไร

ทั่วไปมันก็เหมือน Power Supply ในคอมพิวเตอร์นั่นแหละครับ ทำหน้าที่แปลงไฟจากไฟบ้าน 220V เป็นไฟ 12V (กล้องวงจรปิดส่วนใหญ่กินไฟ 12V) ซึ่งการจ่ายกระแสไฟจะนิ่งและเสถียร์มากกว่าเยอะครับ (อยู่ที่คุณภาพของ Switching Power Supply ด้วยนะครับ) มีแอมป์ให้เลือกตามการใช้งานประมาณนี้ครับ

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังไม่ตายตัวนะครับ ขึ้นอยู่กับการกินไฟของกล้องแต่ละยี่ห้อด้วย วิธีการคำนวนก็ไม่ยากครับ ดูจากรายละเอียดในกล้องแต่ละรุ่นว่ากินไฟเท่าไร (แนะนำให้ดูความต้องการไฟตอน IR เปิดครับ) เราใช้กี่ตัวก็คูณเข้าไปตามนั้น ก็จะได้ค่าแอมป์ที่เราต้องการสำหรับเลือกใช้ Adapter Switching ที่เหมาะกับระบบกล้องวงจรปิดของเราแล้วละครับ แนะนำว่าเลือกให้แอมป์เกินไฟสักนิดนึงนะครับห้ามขาดแต่ไม่ใช่เกินเยอะไปนะครับ แทนที่จะส่งผลดีอาจจะส่งผลเสียแทนครับ ถ้าไม่แน่ใจแนะนำให้ปรึกษาช่างที่ชำนาญจะดีที่สุดครับ

 - สำหรับท่านที่ต้องการใช้ระบบจ่ายไฟแบบ Switching Power Supply ให้คำนวน Amp ที่ต้องการใช้ไปคำนวนได้เลยครับ แนะนำให้ใช้ระบบนี้จ่ายไฟ รับรองระบบไฟนิ่งมากๆ แน่นอนครับ Switching Power Supply จ่ายไฟให้กล้องนิ่งและเสถียร์กว่ามาก เรียกได้ว่าติดไปแล้วแทบไม่ต้องมา Service กันเลยละครับ อึดและทนกว่าแบบ Adapter แบบปลั๊กเสียบเยอะ

 

7. อุปกรณ์เก็บข้อมูล (Harddisk)

อุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูลที่เครื่องบันทึก (DVR) เก็บเข้ามาใน Harddisk ปัจจุบันมี Harddisk สำหรับงานกล้องวงจรปิดผลิตโดยบริษัท Seagate ในชื่อรุ่น Sky Hawk มันถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมกล้องวงจรปิดโดยเฉพาะ (Surveillance Hard Drives) ได้รับรางวัล Top Supplier Award ในเดือนกันยายน 2516 และยังได้รับรางวัลอุตสาหกรรมไอทีในประเทศจีนจำนวนมาก รวมทั้งได้รับรางวัล Top Supplier Award จาก Hikvision ผู้ผลิตกล้อง IP Camera / CCTV กล้องวงจรปิดชั้นนำของโลกอีกด้วย

 - สำหรับการเลือกใช้ความจุของ Harddisk นั้นสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมเลยครับ ถ้าเลือกความจุมากๆ ก็จะสามารถเก็บภาพได้เป็นเวลานานกว่าเท่านั้นเองครับ มีความจุให้เลือกตั้งแต่ 1TB, 2TB, 3TB, 4TB, 6TB จะใช้ความจุเท่าใดนั้นให้ดูความสามารถของเครื่องบันทึก (DVR, NVR) เป็นหลักว่ารับความจุมากที่สุดได้ขนาดใด ลองบวกกับรายการต่างๆด้านบนแล้วได้ราคาเท่าไรแล้วครับ

 

8. เครื่องสำรองไฟ (UPS)

อุปกรณ์สำหรับสำรองไฟและกรองไฟให้กับระบบ CCTV ของเราครับ ป้องกันอาการไฟตก ไฟกระชากสาเหตุหลักที่ทำให้อุปกรณ์ของลูกค้าส่วนมากชำรุดและเสียหายกันเลยล่ะครับ เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าระบบไฟฟ้าบ้านเรามันไม่ค่อยนิ่งครับ เวลาฝนตกหนักทีไร ต้องมีอาการไฟตก ไฟดับกันอยู่บ่อยๆ (ใช้สำหรับกรองไฟเท่านั้นนะครับ หากต้องการสำรองไฟต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพราะต้องมีการคำนวน Watt ของอุปกรณ์ทั้งระบบว่าใช้ไฟเท่าไร เสร็จแล้วจึงเลือกเครื่องสำรองไฟให้เหมาะกับอุปกรณ์และเวลาที่ต้องการสำรองไฟ ถ้าระบบใหญ่มากๆ บวกกับต้องการสำรองไฟเป็นเวลานานราคาเครื่องสำรองไฟอาจสูงมากเลยครับ)

อุปกรณ์ตัวนี้จะใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เราจะแนะนำให้ลูกค้าใช้ทุกรายครับ เพราะระบบ CCTV ของเราไม่ใช่ถูกๆ นะครับ เพิ่มงบประมาณแค่ไม่กี่พันบาท (ราคาระบบ CCTV เป็นหมื่น-แสนบาท) คุ้มค่ากว่าเยอะครับ มันช่วยเราปกป้องระบบองเราจากไฟตก ไฟกระชาก ยิ่งถ้าเป็นลักษณะโรงงานแนะนำว่าต้องใช้อุปกรณ์ตัวนี้ร่วมกับการติดตั้งกล้องวงจรปิดไปด้วยเลยครับ เดี๋ยวจะเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

 

9. ตู้เก็บเครื่องบันทึก (Rack Server, Wall Rack, Rack)

อุปกรณ์สำหรับเก็บเครื่องบันทึก, เครื่องสำรองไฟ, Switching Power Supply และอุปกรณ์อื่นๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งยังซ่อนสายสัญญาณที่ต่อระเกะระกะให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งยังสามารถเปิดด้านหลังสำหรับงานซ่อมบำรุงได้ง่ายอีกด้วย หลังติดตั้งเรียบร้อยทุกอย่างแล้วท่านยังสามารถล็อกตู้เพื่อป้องกันผู้ไม่เกียวข้องเข้ามายุ่งกับระบบของท่านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย มีทั้งแบบแขวนผนัง (Wall Rack) และแบบตั้งพื้น (Close Rack) มีให้เลือกมากมายหลายขนาด แตกต่างกันตามขนาดของระบบ CCTV ที่ต้องการใช้ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานการติดตั้งระบบ เหมาะสำหรับใช้กับระบบขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ แนะนำให้ใช้กับทุกระบบครับ

เป็นอุปกรณ์มาตรฐานการติดตั้งกล้องวงจรปิด แต่เป็นอุปกรณ์ที่จะใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้เช่นกันครับ เหมาะสำหรับใช้กับระบบขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ แนะนำให้ใช้กับทุกระบบครับ

 

10. ค่าบริการติดตั้ง

และที่ขาดไม่ได้และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือขั้นตอนการติดตั้งกล้องวงจรปิดครับ แล้วทำไมถึงสำคัญ? เหมือนท่านเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างอย่างดีเกรด A เพื่อสร้างบ้านสักหลัง แต่ดันเลือกช่างมาทำบ้านที่ไม่ได้เรื่อง, ไม่รับผิดชอบ, ไม่มีความรู้เพียงพอ, ทำงานไม่จบ ทิ้งงาน บ้านก็สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วหลังคารั่ว เผลอๆ พังครืนลงมาทั้งหลัง กล้องวงจรปิดก็เช่นเดียวกันครับ แนะนำให้ท่านเลือกเจ้าที่ไว้ใจได้ มีความรับผิดชอบ มาทำงานให้ท่าน งานติดตั้งกล้องวงจรปิดของท่านจะได้เรียบร้อย งานสวย ที่สำคัญต้องไม่ให้งบประมาณบานปลาย

- เป็นที่รู้กันครับว่า "ของดีไม่มีถูก ของถูกไม่มีดี" เพราะราคาติดตั้งกล้องวงจรปิดของแต่ละเจ้าไม่เหมือนกัน แตกต่างกันอย่างไร ให้ท่านลองพิจารณาดูนะครับ โดยทั่วไปราคาติดตั้งต่อ 1 จุดจะอยู่ที่ประมาณ 500-2,000 บาท แล้วแต่ท่านตกลงกับช่างว่า งานติดตั้งต้องการอย่างไร ติดตั้งแบบไหนร้อยท่อหรือไม่ มีการรับประกันไหม งานจบหรือไม่ ได้เงินแล้วทิ้งงานหรือเปล่า ฯลฯ มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ แอบแฝงหรือเปล่า เช่นตกลงกันว่าติดตั้ง 4 จุด จุดละ 500 บาท ถึงเวลาหน้างานจริง มีการเก็บค่า Set อุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติมอีกเป็นพัน แนะนำว่าให้ตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนให้ดีนะครับ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ท่านลองบวกลบคูณหารแล้ว ได้เท่าไรนั่นคือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ท่านต้องใช้ในการคำนวนงบประมาณการติดตั้งกล้องวงจรปิด ให้เหมาะสมกับงบของท่าน หวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อท่านไม่มากก็น้อยครับ สำหรับท่านที่ต้องการทราบข้อมูล หรือรายละเอียดต่างๆ เพิ่มเติม ติดต่อเราได้ที่โทร 0 2416 4640 ครับยินดีให้คำปรึกษาแก่ทุกท่านครับ